ประกันสังคม สำหรับ บริษัทเปิดใหม่ ลุูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องทำอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นกองทุนให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตน ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่ใช้เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน
การประสังคมคืออะไร
- การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
งานประกันสังคมดำเนินการตามกฎหมายอะไร
งานประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศง 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2546
ใครคือผู้ประกันตน
ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน
เงินสมทบคืออะไร
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง
จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร
นายจ้างจะต้องยื่นแบบ ดังนี้
- แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
- แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) สำหรับผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อนหรือแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) สำหรับผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วโดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร
นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนำ ส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต โดย :
- นำ ส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ
- ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่สถานประกบอการตั้งอยู่
การนำส่งเงินสมทบมี 2 วิธี คือ
- นำส่งเงินด้วยแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)
- กรอกรายละเอียดในแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง
- กรอกรายละเอียดในแบบ สปส.1-10 (ส่วนที่ 2) ประกอบด้วย
– เลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกให้ครอบถ้วนทุกราย
– ชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนพร้อมคำนำหน้าชื่อที่ชัดเจน
– ค่าจ้างให้กรอกค่าจ้างตามที่จ่ายจริง
– กรอกรายงานเงินสมทบที่นำส่ง
โดยคำนวณเงินสมทบค่าจ้างใน (3) หากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็หนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง
- 1. นำส่งเงินสมทบด้วยสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
– กรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง
– จัดทำข้อมูลตามแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 2) ในสื่อข้อมูล (Diskette) หรือส่งผ่านทาง Internet
– ขอรับโปรแกรมหรือ Format ข้อมูลเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือ Download ได้ที่ www.sso.go.th
กรณีสถานประกอบการมีสาขาและประสงค์ยื่นรวมให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายกรแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา
นำส่งเงินสมทบ สำหรับค่าจ้างประจำเดือนจะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยนำส่งที่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือสำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือชำระเงินสมทบด้วยระบบ e-payment ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงค์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซูมิโตโมมิตซุย คอร์ปอเรชั่น จำกัด และธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด ที่ www.sso.go.th
บทกำหนดโทษ
กรณีนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้องครบถ้วนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างกรอกแบบรายงานดัง กล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมีความผิดฐานขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบจะต้องทำอย่างไร
นายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอายู่ และจะต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น
เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม
- บัตรประกันสังคมผู้ประกันตนที่เป็นบุคคลต่างชาติที่ทำงานโดยมีใบอนุญาตทำงาน จะได้รับบัตรประกันสังคม และสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรประกันสังคมคะ
- บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรเมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบ 3 เดือนแล้ว โดยผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเอง สำนักงานฯ จะส่งบัตรรับรองสิทธิฯ ไปให้เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิฯ ซึ่งจะให้การรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ ถ้าต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง
การแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้างและผู้ประกันตน
การแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงา ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงาน โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน
กรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงชื่อ-ชื่อสกุลหรือข้อมูลสถานภาพครอบครัวและ ข้อมูลจำนวนบุตรให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
วิธีการยื่น
นายจ้างสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตนได้ 3 วิธี
- ยื่นตามแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) แบบขึ้้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส. 1-03 (สปส. 1-03/1) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง
- ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Diskette) หรือยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)
- หากประสงค์ส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Insternet)
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน
สำหรับนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล
- แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
- สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
- สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หรือ สำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
กรณีเจ้าของคนเดียว
- สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
- สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
- สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
- สำเนา บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฏากรกำหนด)
สำหรับลูกจ้าง
- กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
- ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาติทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
- ลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
*** กรณีกิจการเป็จเจ้าของคนเดียว เจ้าของกิจการคือนายจ้างไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ที่มา ประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=930&id=3898
Did you enjoy this post? Why not leave a comment below and continue the conversation, or subscribe to my feed and get articles like this delivered automatically to your feed reader.
Comments
No comments yet.
Sorry, the comment form is closed at this time.