ประกันสังคม สำหรับ บริษัทเปิดใหม่ ลุูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องทำอะไรบ้าง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นกองทุนให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตน ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนเมื่อต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่ใช้เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน

การประสังคมคืออะไร

  1. การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม  เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

งานประกันสังคมดำเนินการตามกฎหมายอะไร

           งานประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศง 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2546

                        ใครคือผู้ประกันตน

           ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน  และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด

           นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน

เงินสมทบคืออะไร

           เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน  โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ  ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท  สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง

จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร

นายจ้างจะต้องยื่นแบบ ดังนี้

  1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
  2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) สำหรับผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อนหรือแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) สำหรับผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วโดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่  สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร

           นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนำ ส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต โดย :

  1. นำ ส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ
  2. ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่สถานประกบอการตั้งอยู่

การนำส่งเงินสมทบมี 2 วิธี คือ

  1. นำส่งเงินด้วยแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)

           –  เลขประจำตัวประชาชน ต้องกรอกให้ครอบถ้วนทุกราย

           –  ชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ประกันตนพร้อมคำนำหน้าชื่อที่ชัดเจน

           –  ค่าจ้างให้กรอกค่าจ้างตามที่จ่ายจริง

           –  กรอกรายงานเงินสมทบที่นำส่ง

           โดยคำนวณเงินสมทบค่าจ้างใน (3) หากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท  แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท  โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็หนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง

  1. 1.    นำส่งเงินสมทบด้วยสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

            –  กรอกรายละเอียดในแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 1) ให้ครบถ้วนถูกต้อง

            –  จัดทำข้อมูลตามแบบ สปส. 1-10 (ส่วนที่ 2) ในสื่อข้อมูล (Diskette)  หรือส่งผ่านทาง Internet

            –  ขอรับโปรแกรมหรือ Format ข้อมูลเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือ Download  ได้ที่ www.sso.go.th

            กรณีสถานประกอบการมีสาขาและประสงค์ยื่นรวมให้จัดทำแบบ สปส. 1-10/1 ซึ่งเป็นใบสรุปรายกรแสดงการส่งเงินสมทบของแต่ละสาขาที่ยื่นพร้อมแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของแต่ละสาขา

           นำส่งเงินสมทบ  สำหรับค่าจ้างประจำเดือนจะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  โดยนำส่งที่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือสำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือชำระเงินสมทบด้วยระบบ e-payment ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงค์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซูมิโตโมมิตซุย คอร์ปอเรชั่น จำกัด และธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด ที่ www.sso.go.th

บทกำหนดโทษ

           กรณีนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้องครบถ้วนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างกรอกแบบรายงานดัง กล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมีความผิดฐานขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบจะต้องทำอย่างไร

          นายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอายู่ และจะต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น

เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม

  1. บัตรประกันสังคมผู้ประกันตนที่เป็นบุคคลต่างชาติที่ทำงานโดยมีใบอนุญาตทำงาน จะได้รับบัตรประกันสังคม และสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรประกันสังคมคะ
  2. บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรเมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบ 3 เดือนแล้ว  โดยผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเอง สำนักงานฯ จะส่งบัตรรับรองสิทธิฯ ไปให้เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิฯ ซึ่งจะให้การรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ ถ้าต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง

การแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้างและผู้ประกันตน

           การแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

           กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงา ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงาน  โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

            การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน

            กรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงชื่อ-ชื่อสกุลหรือข้อมูลสถานภาพครอบครัวและ ข้อมูลจำนวนบุตรให้ใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

วิธีการยื่น
นายจ้างสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตนได้ 3 วิธี

  1. ยื่นตามแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) แบบขึ้้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส. 1-03 (สปส. 1-03/1) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)  โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง
  2. ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Diskette) หรือยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

สำหรับนายจ้าง

กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล

  1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
  2. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  3. สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) หรือ สำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  4. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  5. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

กรณีเจ้าของคนเดียว

  1. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  2. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
  4. สำเนา บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
  5. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  6. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฏากรกำหนด)

สำหรับลูกจ้าง

  1. กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
  3. ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาติทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
  4. ลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

*** กรณีกิจการเป็จเจ้าของคนเดียว เจ้าของกิจการคือนายจ้างไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้

 

 

ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ที่มา ประกันสังคม http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=930&id=3898

ตัวอย่างการบันทึกประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานของพนักงานหลังออกจากงาน(จากสภาวิชาชีพบัญชี)

ตัวอย่างจากสภาวิชาชีพ ผลประโยชน์พนักงาน

การคิดประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานของพนักงานหลังออกจากงานสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) มีแนวทางทางคำนวณจากสภาวิชาชีพ ซึงถ้าอ่านจากตัวอย่างของสภาวิชาชีพจะทราบว่า หลักการคำนวณของสภามาหลักการดังนี้

– ต้องคำนวณจากพนักงานปัจจุบันทุกคน โดยที่ไม่มีการกำหนดเป็นช่วงอายุเพื่อที่จะนำมาคำนวณ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

– ใช้เงินเดือนปัจจุบันของพนักงานในการคำนวณ

– พนักงานปัจจุบันทุกคนจะทำงานจนครบเกษียณ

– พนักงานปัจจุบันทุกคนคาดว่าจะได้รับผลประโยชน์หลังออกจากงาน(พนักงานจะไม่เสียชีวิต)

– มีการใช้ตัวเลข อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน(turnover rate) มาใช้ในการคำนวณ

การแก้ไขรายการใบในกำกับภาษี และรายงานภาษีซื้อ มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2557

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 194 ,195,196 ,197 แก้ไขหลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และการจัดทำรายงานภาษีซื้อ มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป (ขณะนี้เลื่อนใช้ไปปี 2558) ซึ่งบริษัทสามารถนำมาใช้ปฏิบัติก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ได้

ดาวน์โหลดเอกสาร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 194 เรื่องกำหนดข้อความอื่นในใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา86/9 (7) แห่งประมวลรัษฎากร

ประเด็นสำคัญคือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ต้องระบุ เลขประจำตัวผู้ภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และสถานประกอบการ “สำนักงานใหญ่”/”สาขา” ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามข้อความใน ภ.พ.20

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 195  เรื่องกำหนดข้อความอื่นในใบลดหนี้ตามมาตรา86/10 (7) แห่งประมวลรัษฎากร

ประเด็นสำคัญคือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้ต้องระบุ เลขประจำตัวผู้ภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และสถานประกอบการ “สำนักงานใหญ่”/”สาขา” ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามข้อความใน ภ.พ.20

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 196 เรื่องกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับตามมาตรา86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

ประเด็นสำคัญคือ ข้อ 7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษี จะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการไว้ในใบกำกับภาษี โดยข้อความดังกล่าว จะจัดทำโดยคอมพิวเตอร์ ตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึกหรือพิมพ์ดีดก็ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 (ถ้าผู้ซื้อเป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร)

ข้อ 8 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษี จะต้องระบุข้อความสถานประกอบ ตามข้อความในใบ ภ.พ.20 ว่าเป็น “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขาที่…” ดังนั้นถ้าเป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีสาขา ต้องระบุข้อความว่า “สำนักงานใหญ่” โดยข้อความดังกล่าว จะจัดทำโดยคอมพิวเตอร์ ตีพิมพ์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึกหรือพิมพ์ดีดก็ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 197 เรื่องกำหนดแบบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไชเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และ มาตรา87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

ประเด็นสำคัญคือ   ข้อ2/1 รูปแบบรายงานภาษีขายและภาษีซื้อจะเปลี่ยนไป จะมีเพิ่มเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และสถานที่ประกอบการสำนักงานใหญ่/สาขา

ข้อ2/2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าและให้บริการต้องใส่รายการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ และสถานที่ประกอบการสำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ ในรายงานภาษีขาย

ข้อ2/3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ซิ้อสินค้าและรับบริการต้องใส่รายการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้า/ผู้ให้บริการ และสถานที่ประกอบการสำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ซื้อสินค้า/ผู้ให้บริการ ในรายงานภาษีซื้อ

บริษัท เกรท แอคเคาน์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท

สอบถามเพิ่มเติม 063-782-2895